การตลาดกับการประชาสัมพันธ์

วิธีการตั้งโจทย์ทางการตลาดดังนี้

  1. Brand reminding base หรือ Gimmick base วิธีคิดแบบนี้ เริ่มต้นจากการดึงเอาจุดเด่นหรือลูกเล่นบางอย่างของ Brand หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการประชาสัมพันธ์
  2.  Functional Base เป็นวิธีคิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการทำสินค้าพรีเมี่ยม เนื่องจากไม่ต้องคิดมาก เน้นให้ผู้รับนำเอาของที่มีโลโก้บริษัทไปใช้งานในชีวิตประจำวัน โดยอาจจะไม่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบริษัทก็ได้เ พียงแค่ขอให้มีโลโก้บริษัทติดไปด้วยเป็นใช้ได้ ตัวอย่างที่เห็นกันมากที่สุดเช่น สินค้าประเภท กระเป๋า  นาฬิกา วิทยุตั้งโต๊ะ สมุดโน้ต ปากกา หมวก
  3. Designing Base  บริษัทที่มีวิธีคิดแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเป็นบริษัทประเภท agency, production house, graphic design, event organizer หรือในวงการบันเทิง แน่นอนว่าการเน้นสินค้าที่มีดีไซน์ หมายถึงการ present ความเป็นตัวของตัวเองออกมาในงานของพรีเมี่ยมให้มากที่สุด เพื่อให้คนจดจำ บางครั้งอาจเป็นของธรรมดาๆ ที่ใช้งานในชีวิตประจำวันแต่ดีไซน์สุดสวย เพื่อให้คนรับอยากนำเอาของไปใช้ ตัวอย่างลูกค้า Grammy Television ซึ่งออกแบบกระดาษก้อนเป็นรูปโทรทัศน์ และสามารถเสียบปากกาที่ด้านบนดูคล้ายกับเสาอากาศโทรทัศน์
  4. Mainstream Base วิธีคิดแบบนี้ใช้กระแสหลักหรือแฟชั่นที่กำลังได้รับความนิยมมาเป็นตัวดึงให้ผู้รับเข้าไปสู่ Brand ได้ง่ายขึ้น เช่น กระแส wristband เมื่อปีสองปีที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด แทบจะไม่มีองค์กรไหนที่จะไม่ขอทำ wristband ของตัวเอง ต่อมาภายหลัง พัฒนามาเป็นแบบหลายสี แบบไขว้ เป็นต้น
  5. Innovative Base เป็นสินค้าผลิตค่อนข้างยาก เนื่องจากลูกค้าออกแบบจากจินตนาการเหมือนกับสร้างของใหม่ขึ้นมาและต้องการทำให้เป็นจริง ในแง่การผลิตจะต้องมีข้อจำกัดตั้งแต่จำนวนการผลิต วัตถุดิบ ค่าต้นแบบ รวมถึงการใช้ supplier มากกว่าหนึ่งที่ในการผลิตแต่ละส่วน

      6.Advertising Base ส่วนใหญ่เราจะเรียกว่า giveaway เป็นของที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้รับถือในจำนวนมากๆ ส่วนใหญ่จะเป็นของมูลค่าน้อยแต่ผลิตมาก และแจกให้ฟรีๆ โดยเฉพาะในงานที่มีคนจำนวนมากๆ เช่นงานexhibition ใหญ่ๆหรืองานคอนเสิร์ต เช่น พัด หมวก  กระดาษ ถุงกระดาษ ปากกา ลูกโป่ง แท่งเป่าลม (bang stick) ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีลวดลายหรือโลโก้ของลูกค้าแบบเต็มพื้นที่ เรียกว่า hard sale กันตรงๆเลยทีเดียว

ใส่ความเห็น